ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมภาษาซี

ขั้นตอนที่ 1 เขียนโปรแกรม (source code)
ใช้editor เขียนโปรแกรมภาษาซีและทำการบันทึกไฟล์ให้มีนามสกุลเป็น .c เช่น work.c เป็นต้น
editor คือ โปรแกรมที่ใช้สำหรับการเขียนโปรแกรม โดยตัวอย่างของ editor ที่นิยมนำมาใช้ในการเขียน
โปรแกรมได้แก่ Notepad,Edit ของ Dos ,TextPad และ EditPlus เป็นต้น ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเลือกใช้
โปรแกรมใดในการเรียนโปรแกรมก็ได้ แล้วแต่ความถนัดของแต่ละบุคคล
ขั้นตอนที่ 2 คอมไพล์โปรแกรม (compile)
นำ source code จากขั้นตอนที่1 มาทำการคอมไพล์ เพื่อแปลจากภาษาซีที่มนุษย์เข้าใจไปเป็น
ภาษาเครื่องที่คอมพิวเตอร์เข้าใจได้ ในขั้นตอนนี้คอมไพเลอร์จะทำการตรวจสอบ source code ว่าเกิด
ข้อผิดพลาดหรือไม่
· หากเกิดข้อผิดพลาด จะแจ้งให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบ ผู้เขียนโปรแกรมจะต้องกลับไปแก้ไขโปรแกรม
และทำการคอมไพล์โปรแกรมใหม่อีกครั้ง
· หากไม่พบข้อผิดพลาด คอมไพเลอร์จะแปลไฟล์ source code จากภาษาซีไปเป็นภาษาเครื่อง (ไฟล์
นามสกุล .obj) เช่นถ้าไฟล์source code ชื่อ work.c ก็จะถูกแปลไปเป็นไฟล์ work.obj ซึ่งเก็บ
ภาษาเครื่องไว้เป็นต้น
compile เป็นตัวแปลภาษารูปแบบหนึ่ง มีหน้าที่หลักคือการแปลภาษาโปรแกรมที่มนุษย์เขียนขึ้นไปเป็น
ภาษาเครื่อง โดยคอมไพเลอร์ของภาษาซี คือ C Compiler ซึ่งหลักการที่คอมไพเลอร์ใช้ เรียกว่า คอมไพล์
(compile) โดยจะทำการอ่านโปรแกรมภาษาซีทั้งหมดตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วทำการแปลผลทีเดียว

นอกจากคอมไพเลอร์แล้ว ยังมีตัวแปลภาษาอีกรูปแบบหนึ่งที่เรียกว่า อินเตอร์พรีเตอร์ การอ่านและ
แปลโปรแกรมทีละบรรทัด เมื่อแปลผลบรรทัดหนึ่งเสร็จก็จะทำงานตามคำสั่งในบรรทัดนั้น แล้วจึงทำการแปล
ผลตามคำสั่งในบรรทัดถัดไป หลักการที่อินเตอร์พรีเตอร์ใช้เรียกว่า อินเตอร์เพรต (interpret)
ข้อดีและข้อเสียของตัวแปลภาษาทั้งสองแบบมีดังนี้

ข้อดี ข้อเสีย ข้อดี ข้อเสีย
คอมไพเลอร์
  • · ทำงานได้เร็ว เนื่องจากทำการ

แปลผลทีเดียว แล้วจึงทำงาน

ตามคำสั่งของโปรแกรมใน

ภายหลัง

  • · เมื่อทำการแปลผลแล้ว ในครั้ง

ต่อไปไม่จำเป็นต้องทำการแปล

ผลใหม่อีก เนื่องจาก

ภาษาเครื่องที่แปลได้จะถูกเก็บ

ไว้ที่หน่วยความจำ สามารถ

เรียกใช้งานได้ทันที

  • · เมื่อเกิดข้อผิดพลาดขึ้นกับ

โปรแกรมจะตรวจสอบหา

ข้อผิดพลาดได้ยาก เพราะทำ

การแปลผลทีเดียวทั้งโปรแกรม

อินเตอร์พรีเตอร์
  • · หาข้อผิดพลาดของโปรแกรมได้

ง่าย เนื่องจากทำการแปลผลที

ละบรรทัด

  • · เนื่องจากทำงานทีละบรรทัด

ดังนั้นจึงสั่งให้โปรแกรมทำงาน

ตามคำสั่งเฉพาะจุดที่ต้องการ

ได้

  • · ไม่เสียเวลารอการแปล

โปรแกรมเป็นเวลานาน

  • ช้า เนื่องจากที่ทำงานทีละ

บรรทัด

ขั้นตอนที่ 3 เชื่อมโยงโปรแกรม (link)
การเขียนโปรแกรมภาษาซีนั้นผู้เขียนโปรแกรมไม่จำเป็นต้องเขียนคำสั่งต่าง ๆ ขึ้นใช้งานเอง เนื่องจาก
ภาษาซีมีฟังก์ชั้นมาตรฐานให้ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้งานได้ เช่น การเขียนโปรแกรมแสดงข้อความ
“Lumpangkanyanee” ออกทางหน้าจอ ผู้เขียนโปรแกรมสามารถเรียกใช้ฟังก์ชั่น printf() ซึ่งเป็นฟังก์ชั่น

มาตรฐานของภาษาซีมาใช้งานได้ โดยส่วนการประกาศ (declaration) ของฟังก์ชั่นมาตรฐานต่าง ๆ จะถูกจัดเก็บ
อยู่ในเฮดเดอร์ไฟล์แต่ละตัว แตกต่างกันไปตามลักษณะการใช้งาน
ด้วยเหตุนี้ภาษาเครื่องที่ได้จากขั้นตอนที่2 จึงยังไม่สามารถนำไปใช้งานได้ แต่ต้องนำมาเชื่อมโยงเข้ากับ
library ก่อน ซึ่งผลจากการเชื่อมโยงจะทำให้ได้ executable program (ไฟล์นามสกุล.exe เช่น work.exe)
ที่สามารถนำไปใช้งานได้
ขั้นตอนที่ 4 ประมวลผล (run)
เมื่อนำexecutable program จากขั้นตอนที่3 มาประมวลผลก็จะได้ผลลัพธ์ (output) ของโปรแกรม
ออกมา (ถ้ามี)

32
รูปที่1 ขั้นตอนการพัฒนาโปรแกรมด้วยภาษาซี

Posted on September 15, 2013, in ภาษาซี. Bookmark the permalink. Leave a comment.

Leave a comment